Search This Blog

Sunday, August 7, 2011

Who is who and who is survived in search engines business? War games!

เราพอจะรู้อะไรบางอย่างมาจากสองตอนที่แล้ว ว่าอะไรน่าจะเป็นโปรแกรมค้นหาในเว็บ และอะไรที่ไม่ใช่ เช่น ฐานข้อมูล วันนี้เรามาดูประวัติคร่าวๆ ของการพัฒนาวงการ Search Engines อาจจะทำให้เราเห็นภาพของ search engines ที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ ยังเห็นการเกิด การดับ การแข่งขัน แย่งชิงพื้นที่ เป็นวัฏจักรทางความคิด การค้า และธุรกิจ ที่หนีไม่พ้น เกิด ดับ เหมือนทุกสิ่งในโลก

Search engines มีรากมาจาก Information Retrieval Systems ระบบการดึงข้อมูลมาใช้ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ IBMs ช่วงทศวรรษ 50 หรือราวๆ หกสิบปีที่แล้ว และต่อมาเมื่อข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมากมายการต้องมีเครื่องมือโปรแกรมในการค้นหาจึงเป็นเครื่องมือที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และได้พัฒนาอย่างมากในช่วง ประมาณยี่สิบปีที่ผ่านมานี้

เครื่องมือค้นหาแรกๆ เลยชื่อว่า Archie (Archive ตัดตัว V) 1990 โดยนักเรียนคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยแมกกีล ของแคนาดา โดยโปรแกรมจะดาวน์โหลดไดเรกตอรี่ของชื่อไฟล์ที่อยู่บนพับลิกโดเมนของ FTP แต่ไม่ได้ ทำดัชนีเนื้อหา เพราะตอนนั้น ข้อมูลน้อยมากสามารถทำมือเองได้

Veronica, Jughead เป็นโปรแกรมคล้ายๆ กัน กับอาร์ชี่ ของ บริษัท Gopher 1991

W3Catalog Search Engines รุ่นดึกดำบรรพ์เริ่มในปี 1993

Jumpstation 1993 เริ่มใช้ Web robot เพื่อค้นและสร้างดัชนี

จนในปี 1994 บริษัทแรกที่ใช้ระบบมาตรฐานนี้ ก็เปิดสู่สาธารณะ คือ ไลคอส แต่ชะตากรรมจะเป็นอย่างไร อ่านตอนท้ายของเรื่องนี้

Search Engines ดังในอดีตก็มี Excite, Infoseek, Inktomi, Northern Light, Alta Vista ซึ่งยังใช้การอยู่ แต่แปรรูปไปบ้าง เช่น อิงค์โทมี่ และ อัลตา วิสต้า ที่ควบเป็นของยาฮูไป

Yahoo! เป็นแบรนด์แรกๆ ที่ให้บริการค้นหา (1994) แต่ไม่มี Search engines โดยแรกๆ เป็น Directory ที่ค้นได้ โดยต้องใช้มนุษย์เป็นคนจัดการแยก ปี 2003 ซื้อกิจการของ Inkyomi ทีกำเนิดมาแต่ 1995 และให้บริการแก่ Search engines อื่นๆ มาก่อน พอถูกซื้อ ก็ทำให้ยาฮูมีเครื่องมือค้นหาจริงๆ ต่อมาได้รวม Overture ซึ่งในปี 2001 (Goto.com 1997) ซื้อ Altavista เมื่อ 2003 (Start 1999) และ Alltheweb(start 1999) และจึงได้ รีแบรนด์เป็น Yahoo Search marketing 2005 Yahoo! ใช้เทคโนโลยีของกูเกิ้ลอยู่พักนึงก่อนได้โอเวอร์ทูร์ และล่าสุดก็หันไปซบกับบิงของไมโครซอฟท์แทน

Microsoft เริ่มใช้ MSN search ในปี 1995 (พร้อม Windows 95) โดยช่วงแรกเทคโนโลยี Search Engines ที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ Inktomi, Looksmart, Alta Vista และในที่สุดในปี 2004 ก็มี Technology search engines ของตัวเอง และเปลี่ยนมาเป็น Live Search ปี 2004 และล่าสุด Microsoft ได้รีแบรนด์ตัวเอง และกำเนิดSearch engines ในชื่อ Bing เมื่อ กรกฎา 2009 และหลังจากนั้นไม่ถึงเดือน Yahoo! ก็ตกลงร่วมกับ Microsoft ว่าจะใช้ Bing technology และไม่นานมานี้ google ก็กำลังดำเนินการฟ้องร้อง Microsoft ว่าลอกเลียนหรือใช้ข้อมูลของกูเกิลในเครื่องมือค้นหา Bing ไมโครซอฟท์จึงมีทั้งโอเปอเรตติ้งซิสเต็ม อีเมล เว็บบราวเซอร์ และเสิร์ชเอนจิ้นของตนเอง

Google เริ่มในราวปี 1998 โดยนักเรียนปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สองปีเท่านั้น กูเกิลได้กลายเป็น Search engines ที่ใช้กันเพิ่มอย่างมาก และใช้เทคนิค page ranking เพื่อให้ความสำคัญกับเพจที่มีลิ้งค์มามาก แสดงว่าน่าจะสำคัญกว่าเพจอื่นๆ กูเกิ้ลกลายเป็นบริษัทมหาชนในปี 2004 และกลายเป็นเครื่องมือที่ครองตลาดค้นหา และยังซื้อควบกิจการต่างๆ เข้ามาในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น You Tube กำเนิดธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต Adwords, Adsense, Affiliate Program,bloggerมีเว็บบราวเซอร์และอีเมลของตัวเอง แม้ว่าอินสแตนท์เมสเสจไม่ได้รับความนิยมนัก และล่าสุดก็มี Googleplus ที่คาดว่าจะมาแย่งพื้นที่ของ Facebook ทำให้กูเกิ้ลเป็นมากกว่า Search engines ที่ทรงพลัง กูเกิ้ลยังมีแชร์ และช่วยเสริม Search Engines ของ AOL บริษัทที่ทำธุรกิจหลักเกี่ยวกับซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ และ วีดิโอ ของบริษัทวอร์เนอร์ ซึ่งเข้ามาผนวกกิจการไป ถ้าเอโอแอลหันไปหา ไมโครซอฟท์ตามที่มีคนคาดไว้ กูเกิ้ลจะเสียส่วนแบ่งไป พอสมควรที่เดียว

ยังมีอีกสองเจ้าที่อยากจะพูดถึง เพราะบริษัทต่างๆ ที่มีการทำกำไรระดับโลกนั้นมักจะมีแหล่งกำเนิดในอเมริกา แต่ Baidu ยักษ์ใหญ่ของจีนที่ออกสตาร์ทในปี 2000 ซึ่งครองตลาดหลักกว่าร้อยละหกสิบในจีน ทำให้มีส่วนแบ่งทั่วโลกไม่น้อยเลย อีกเจ้าหนึ่งคือ Lycos ซึ่งมีมาแต่แรกๆ ไล่เลี่ยกับ ยาฮู ต่อมาไม่สามารถแข่งขันกับเจ้าพ่อ กูเกิ้ล ยาฮู ไมโครซอฟท์ได้ ก็ขายกิจการส่วนSearch Engines ยกเว้นของยุโรปให้บริษัทเกาหลี Daum ในปี 2004 ต่อมา
บริษัทดอมก็ซื้อกิจการส่วนยุโรปมา และในที่สุด บริษัทอินเดีย ก็ซื้อกิจการในปี 2010 และกลายเป็นกิจการระดับโลกอีกครั้ง เพราะบริษัทนี้ มีกิจการในออสเตรเลียด้วย แม้จะไม่ใหญ่ยักษ์เท่าบริษัทอื่น แต่ก็ยังมีคนกว่าหกสิบล้านคนทั่วโลกใช้บริการ Lycos ในแต่ละปี

ทุกวันนี้ ห้ายักษ์แห่งวงการที่ มีผู้ใช้บริการมากที่สุดจากการสำรวจ ในปีนี้ (August 2011) ได้แก่
1.Google
2.Bing
3.Yahoo!
4.Ask
5.AoL search


สำหรับรายละเอียด สิบห้าอันดับยอดนิยม จำนวนผู้ใช้ ดูได้จาก http://www.ebizma.com/articles/search-engines

จะเห็นว่า Search Engines นั้นโตมาจากความจำเป็นเนื่องจากการเติบโตของอินเตอร์เน็ต และเวิร์ลไวด์เว็บ และข้อมูลออนไลน์ จากเริ่มต้นด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัย ก็กระจายออกสู่ภาคธุรกิจ ส่วนใหญ่ การค้นหายังคงทำได้ฟรี แต่บริษัทเหล่านี้ก็จะโยงใยกับธุรกิจต่างๆ ของตัวเอง ทำให้มีอิทธิพลมากมายในการกำหนดเศรษฐกิจ และการตลาดของตัวเอง มีการโฆษณา และกิจการอื่นๆ อีกมากมายควบคู่ไป และยังส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ทางสังคมและการเมือง และมีข้อถกเถียงมากมายถึงจริยธรรม ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้กลายเป็นเครื่องมือการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ในการศึกษา หาความรู้ของ มนุษยชาติได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

มาถึงตอนนี้เราจะได้เห็นภาพของ Search Engines ในแง่เทคนิค ความหมายว่าเป็นโปรแกรม บางอย่าง และได้รู้ว่าอะไรบางอย่างเช่น ฐานข้อมูลที่ไม่ใช่เครื่องมือค้นหา มาตอนนี้เราก็รู้ว่ามีอะไรบ้างที่ยังอยู่ในความนิยมสำหรับโปรแกรมค้นหาข้อมูลเหล่านี้ และภาพการแข่งขันทางธุรกิจ และได้เกริ่นนำถึงภาพรวมผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทางการศึกษา วัฒนธรรมม สังคม การเมือง จริยธรรม และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งจะมาพูดถึงเรื่องนี้ในคราวหน้า ก่อนจะกลับมาที่เรื่องหนักๆ เช่น มันทำงานยังงัย ทำอย่างไรจะใช้มันได้ประโยชน์ที่สุด ต่อไป

No comments:

Post a Comment