Search This Blog

Tuesday, August 16, 2011

Search engines and politics (2): democratic tools????????????

จากตอนที่แล้ว Search Engines: democratic tools กับความหวังที่จะมีสื่อที่เสรี ไม่จำกัดค่ายใหญ่ ไม่จำกัดความคิด ของอินเตอร์เน็ต แต่ครั้นเมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน อินเตอร์เน็ตก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของกลุ่มใหญ่เพียงไม่กี่กลุ่ม กลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้สร้างฮับ เพื่อเชื่อมโยงลิ้งก์ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน และก็กลายเป็นตัวกำหนดว่าใครจะถูกรวมอยู่ในกลุ่มหรือใครจะไม่ถูกรวม เว็บที่ถูกเห็นบ่อย หรือ highly visibility มีอยู่แค่ไม่กี่หน้า เป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับเว็บเพจที่มีอยู่ ยากที่คนธรรมดาทั่วไปจะแสดงความเห็นแล้วจะมีคนสนใจ ถ้าไม่มีเจ้าใหญ่เหล่านี้มาลงสนับสนุน ซึ่งขัดกับหลักการการเป็นสื่อของทุกคน หรือ egalitarian หรือ หลักพื้นฐานของประชาธิปไตย democracy ไปเสียแล้ว

การที่ข้อมูล ข่าวสารนั้นมีอยู่มากมาย จากหลากหลายช่องทาง วิทยุ โรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ไม่มีทางที่เราจะมีเวลาเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้หมด ดังนั้นสื่อเหล่านี้จึงทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวกลาง intermediaries และบทบาทนั้นก็ยิ่งสำคัญมากในข้อมูลออนไลน์ที่มีมากมายจนไม่มีทางเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงเป็นแน่แท้ ตัวกลางสำคัญ intermediaries of online ก็คือ Search engines นั่นเอง

ในปี 2004 ประมาณว่าอเมริกันชนกว่าร้อยละแปดสิบใช้ Search engines และส่วนใหญ่จะเข้าใช้อย่างน้อยวันละหนึ่งหน search engines จึงเป็นเครื่องมือที่นิยมที่สุดในการ เข้าถึงข้อมูลการแพทย์ การเมือง ศาสนา และแทบทุกๆอย่างบนโลกออนไลน์ กล่าวกันว่าเกือบร้อยละแปดสิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐ หาข้อมูลผู้สมัครโดยเริ่มต้นที่ Search Engines (ในประเทศที่เจริญแล้ว การใช้อินเตอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญมากในทุกๆด้าน และเขาจึงสนใจศึกษาผลกระทบของมันอย่างมาก ในบ้านเรา ผลกระทบตรงนี้ ยังไม่ชัดนัก เนื่องจากการใช้อินเตอร์เน็ตยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะในชนชั้นกลางในเมือง)

Search ENgines  จึงทำหน้าที่เหมือน ผู้รักษาประตู คอยทำหน้าที่ให้ใครผ่านเข้าออกได้ เมื่อเราคาดว่า อินเตอร์เน็ตจะเป็นสื่อกลางสำหรับประชาธิปไตย democracy เราจึงตั้งคำถามแบบเดียวกับที่ตั้งคำถามกับสื่อแบบเก่า ว่า ทำไมหรือทำอย่างไร ที่ จะให้ความคิดเห็นที่หลากหลาย และมักไม่ได้แสดงออก ได้มีที่ยืน และสามารถผ่านตัวกรองคือ Search Engines ได้เหมือนความเห็นกระแสหลัก การโฆษณาส่งผลอย่างไรต่ออินเตอร์เน็ต

ความจริงจะเข้าใจเรื่องนี้ คงต้องเข้าใจหลักการทำงานของกูเกิ้ล Google หรือ Search engines อื่นๆ เสียก่อน จึงจะเข้าใจได้ดีขึ้น ดังนั้นในตอนหน้าเราจะกล่าวถึงการทำงานของ Search Engines อย่างคร่าวๆ ก่อนที่จะกลับมาพูดกันในเรื่องบทบาทของ Search engines and politics, business และทางสังคมอื่นๆ กันต่อไป

No comments:

Post a Comment